วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

   การทำงานของอินเทอร์เน็ต 
มีโปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
 

 โปรโตคอล (Protocol)
ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน 

โปรโตคอล ( Protocol )

คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับ
การสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้
อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP




 IP Address คืออะไร
      คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนอินเทอร์เน็ต ต้องมี
  หมายเลขประจำเครื่อง เรียกว่า IP 
  Address (หรือ Internet Address)
  เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 
  4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 
  192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น
   โดยมีองค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรหมายเลย IP Address โดย
เฉพาะเรียกว่า InterNIC 
(Inter Network Information Center)


ชื่อโดเมน (DNS : DomainName System)

ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีหมายเลข

ประจำเครื่อง  (IP Address) ซึ่งกำหนดเรียกตัวเลขระบุ


ตำแหน่ง  


เช่น  202.44.202.22 , 201.44.202.3 หรือ 203.147.7.200 


เป็นต้น  แต่ระบบหมายเลขมีข้อบกพร่องคือจำยากและไม่ได้สื่อ


ความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปทราบ ดังนั้น  จึงมีผู้คิดระบบตั้งชื่อ


ให้ง่ายขึ้น  เรียกว่า  ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name 


System : DNS ) โดย DNS จะเปลี่ยน  ตัวเลข IP Address  


ให้เป็นคำที่อ่านแล้วเข้าใจและจำได้ง่าย 




ชื่อโดเมน (DNS : DomainName System)

DNS เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน ซึ่งใช้ใน

 เครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บ

มีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อ

โดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่า DNS 

       สามารถแทนความหมายได้ทั้ง Domain Name Service 

(บริการชื่อโดเมน) และ Domain Name Server 

(เครื่องบริการชื่อโดเมน) อีกด้วย


ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System)

โดย DNS จะเปลี่ยน  ตัวเลข IP Address  ให้เป็นคำที่อ่านแล้วเข้าใจและจำได้ง่าย  เช่น
IP Address  208.117.236.69 เป็น DNS คือ www.youtube.com              
   -  IP Address  216.239.61.104 เป็น DNS คือ www.google.co.th
IP Address  58.147.100.24   เป็น DNS คือ www.mthai.com
IP Address  61.19.224.17  เป็น DNS คือ www.moc.go.th
IP Address  207.46.19.254   เป็น DNS คือ www. microsoft.com







ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System)

การกำหนด  DNS  เรียงลำดับความสำคัญของชื่อจากขวาไป

ซ้าย  โดยมีจุดคั่น  เช่น               


   
  sony.com
    
       
       ย่อมาจาก  Commercial  ใช้ในธุรกิจ
    
       ชื่อเจ้าของหน่วยงาน  คือบริษัทโซนี่
       
 nectec.or.th

      ย่อมาจาก  Thailand  (ชื่อประเทศ)
      
           ย่อมาจาก Organization (หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ)
      
           ชื่อหน่วยงาน  NECTEC  เจ้าของหรือต้นสังกัด





ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System)


การกำหนดกลุ่มโดเมน (Domain Group) มีหลักการ

ดังนี้

 หากชื่อทางขวาสุดมี 3 ตัวอักษร ให้เข้าใจว่ามีการจด

ชื่อโดเมน            ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะบอก

ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร  คือ
  
com  หมายถึง  Commercial  ใช้สำหรับธุรกิจ  บริษัท  

         ห้างร้าน
    
edu   มายถึง  Education   ใช้สำหรับสถาบันการ

         ศึกษา

gov   หมายถึง  Government  ใช้สำหรับหน่วยงาน

          ราชการ

net    หมายถึง  Network    ใช้สำหรับหน่วยงานที่เป็น

         เครือข่าย








ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System)

การกำหนดกลุ่มโดเมน (Domain Group) มีหลักการ

ดังนี้

  หากชื่อทางขวาสุดมี 2 ตัวอักษร จะบอกชื่อย่อของ

ประเทศ  เช่น

th =  ประเทศไทย  (Thailand)

au = ประเทศออสเตรเลีย  (Australia)

ca = ประเทศแคนาดา  (Canada)

uk = ประเทศอังกฤษ  (United  

Kingdom) 


ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System)


ชื่อถัดมาจะลักษณะการดำเนินงานขององค์กร แบ่ง

ออก  5 กลุ่ม  คือ   
  

ac   หมายถึง 

Academic   ใช้สำหรับสถาบันการศึกษา
  
co   หมายถึง  Commercial  ใช้สำหรับภาคองค์กร 

ภาคเอกชน 
  
go   หมายถึง  Government ใช้สำหรับหน่วยงาน

ราชการ
  
or   หมายถึง  Organization ใช้สำหรับองค์กรที่ไม่

แสวงหาผลกำไร   
  
in   หมายถึง  Individual   ใช้สำหรับหน่วยงาน

นิติบุคคล